Saturday, March 10, 2012

Fall Moon Festival by Thich Nhat Hanh , ติช นัท ฮันห์


Fall Moon Festival
by Thich Nhat Hanh
(1929 - ) Timeline

Original Language
English

What will happen when form collides with emptiness,
and what will happen when perception enters non-perception?
Come here with me, friend.
Let's watch together.
Do you see the two clowns, life and death
setting up a play on a stage?
Here comes Autumn.
The leaves are ripe.
Let the leaves fly.
A festival of colors, yellow, red.
The branches have held on to the leaves
during Spring and Summer.
This morning they let them go.
Flags and lanterns are displayed.
Everyone is here at the Full Moon Festival.

Friend, what are you waiting for?
The bright moon shines above us.
There are no clouds tonight.
Why bother to ask about lamps and fire?
Why talk about cooking dinner?
Who is searching and who is finding?
Let us just enjoy the moon, all night.

Looking for Each Other by Thich Nhat Hanh , plum village


Looking for Each Other
by Thich Nhat Hanh
(1929 - ) Timeline

Original Language
English

I have been looking for you, World Honored One,
since I was a little child.
With my first breath, I heard your call,
and began to look for you, Blessed One.
I've walked so many perilous paths,
confronted so many dangers,
endured despair, fear, hopes, and memories.
I've trekked to the farthest regions, immense and wild,
sailed the vast oceans,
traversed the highest summits, lost among the clouds.
I've lain dead, utterly alone,
on the sands of ancient deserts.
I've held in my heart so many tears of stone.

Blessed One, I've dreamed of drinking dewdrops
that sparkle with the light of far-off galaxies.
I've left footprints on celestial mountains
and screamed from the depths of Avici Hell, exhausted, crazed with despair
because I was so hungry, so thirsty.
For millions of lifetimes,
I've longed to see you,
but didn't know where to look.
Yet, I've always felt your presence with a mysterious certainty.

I know that for thousands of lifetimes,
you and I have been one,
and the distance between us is only a flash of thought.
Just yesterday while walking alone,
I saw the old path strewn with Autumn leaves,
and the brilliant moon, hanging over the gate,
suddenly appeared like the image of an old friend.
And all the stars confirmed that you were there!
All night, the rain of compassion continued to fall,
while lightning flashed through my window
and a great storm arose,
as if Earth and Sky were in battle.
Finally in me the rain stopped, the clouds parted.
The moon returned,
shining peacefully, calming Earth and Sky.
Looking into the mirror of the moon, suddenly
I saw myself,
and I saw you smiling, Blessed One.
How strange!

The moon of freedom has returned to me,
everything I thought I had lost.
From that moment on,
and in each moment that followed,
I saw that nothing had gone.
There is nothing that should be restored.
Every flower, every stone, and every leaf recognize me.
Wherever I turn, I see you smiling
the smile of no-birth and no-death.
The smile I received while looking at the mirror of the moon.
I see you sitting there, solid as Mount Meru,
calm as my own breath,
sitting as though no raging fire storm ever occurred,
sitting in complete peace and freedom.
At last I have found you, Blessed One,
and I have found myself.
There I sit.

The deep blue sky,
the snow-capped mountains painted against the horizon,
and the shining red sun sing with joy.
You, Blessed One, are my first love.
The love that is always present, always pure, and freshly new.
And I shall never need a love that will be called “last.”
You are the source of well-being flowing through numberless troubled lives,
the water from your spiritual stream always pure, as it was in the beginning.
You are the source of peace,
solidity, and inner freedom.
You are the Buddha, the Tathagata.
With my one-pointed mind
I vow to nourish your solidity and freedom in myself
so I can offer solidity and freedom to countless others,
now and forever.

Movement by Thich Nhat Hanh , plum village


Movement
by Thich Nhat Hanh
(1929 - ) Timeline

Original Language
English

My head pillowed on waves--
I drift with the flow--
broad river,
deep sky.
They float, they sink,
like bubbles,
like wings.

Walking Meditation by Thich Nhat Hanh , plum village


Walking Meditation
by Thich Nhat Hanh
(1929 - ) Timeline

Original Language
English

Take my hand.
We will walk.
We will only walk.
We will enjoy our walk
without thinking of arriving anywhere.
Walk peacefully.
Walk happily.
Our walk is a peace walk.
Our walk is a happiness walk.

Then we learn
that there is no peace walk;
that peace is the walk;
that there is no happiness walk;
that happiness is the walk.
We walk for ourselves.
We walk for everyone
always hand in hand.

Walk and touch peace every moment.
Walk and touch happiness every moment.
Each step brings a fresh breeze.
Each step makes a flower bloom under our feet.
Kiss the Earth with your feet.
Print on Earth your love and happiness.

Earth will be safe
when we feel in us enough safety.

Padmapani by Thich Nhat Hanh , plum village


Padmapani
by Thich Nhat Hanh
(1929 - ) Timeline

Original Language
English

Flowers in the sky.
Flowers on Earth.
Lotuses bloom as Buddha's eyelids.
Lotuses bloom in man's heart.
Holding gracefully a lotus in his hand,
the bodhisattva brings forth a universe of art.
In the meadows of the sky, stars have sprung up.
The smiling, fresh moon is already up.
The jade-colored trunk of a coconut tree
reaches across the late-night sky.

My mind, traveling in utmost emptiness,
catches suchness on its way home.

Interrelationship by Thich Nhat Hanh , plum village


Interrelationship
by Thich Nhat Hanh
(1929 - ) Timeline

Original Language
English

You are me, and I am you.
Isn't it obvious that we "inter-are"?
You cultivate the flower in yourself,
so that I will be beautiful.
I transform the garbage in myself,
so that you will not have to suffer.

I support you;
you support me.
I am in this world to offer you peace;
you are in this world to bring me joy.

ติช นัท ฮันห์ กับมิติใหม่ของพุทธศาสนา โดย พระไพศาล วิสาโล , ติช นัท ฮันห์



พระไพศาล วิสาโล

ติช นัท ฮันห์ กับมิติใหม่ของพุทธศาสนา 
โดย พระไพศาล วิสาโล 

นอกจากองค์ทะไล ลามะ แล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่งที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็วๆ นี้ ยกย่องให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก หนังสือหลายเล่มของท่านติดอันดับหนังสือขายดีทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยายจะมีผู้ฟังแน่นขนัดแม้ต้องเสียค่าผ่านประตูก็ตาม ยิ่งที่หมู่บ้านพลัมอันเป็นสำนักของท่านในประเทศฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อนนับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่แอฟริกาและอเมริกาใต้ 

คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่าความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน 

สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตรศิษย์หาและเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณาแม้กระทั่งกับผู้ปลิดชีวิตบุคคลที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกันก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา 

ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่า เปรียบเสมือน “ดอกบัวกลางทะเลเพลิง” ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากอุปมาดังกล่าวเลย 



ท่านติช นัท ฮันห์-องค์ทะไลลามะ 


หากจีนไม่รุกรานทิเบต โลกก็คงไม่รู้จัก องค์ทะไลลามะ ในทำนองเดียวกันหากรัฐบาลเวียดนามใต้ไม่ปิดประตูผลักไสให้ท่านกลายเป็นผู้ลี้ภัย โลกก็คงไม่มีโอกาสดื่มด่ำสัมผัสธรรมของ ท่านนัท ฮันห์ อย่างแพร่หลายเช่นทุกวันนี้ เมื่อท่านไม่อาจเข้าประเทศเวียดนามได้หลังจากการไปรณรงค์เรียกร้องสันติภาพที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาและยุโรปจึงเปรียบเสมือนบ้านของท่านตลอด 39 ปีที่ผ่านมา หนังสือและคำสอนที่สำคัญของท่านส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ยิ่งท่านมาตั้งสำนักที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส สังฆะของท่านก็หยั่งรากลึกและเติบใหญ่จนกลายเป็นพลังที่สำคัญในทางศาสนธรรมและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็สร้างมิติใหม่ให้แก่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับโลกและสำหรับเวียดนามเอง 

ท่านนัท ฮันห์ เป็นหนึ่งในบุคคลผู้ริเริ่มนำพุทธศาสนาออกมาสัมพันธ์กับโลกสมัยใหม่อย่างมีพลัง ในยามที่บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ท่านเห็นว่าจุดยืนของพุทธศาสนามิได้อยู่ที่การสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จับอาวุธห้ำหั่นกัน หากอยู่ที่การเสนอทางออกอย่างสันติ โดยมีความเมตตาต่อทั้งสองฝ่าย แม้นั่นจะหมายถึงการถูกเข้าใจผิดจากทุกฝ่ายก็ตาม และในขณะที่ผู้คนกำลังเดือดร้อนจากภัยสงครามและความยากจน ชาวพุทธไม่ควรเอาแต่นั่งภาวนาหรือแผ่เมตตาอยู่ในมุ้ง หากควรออกไปช่วยเหลือคนเหล่านั้น โดยพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับปฏิบัติการทางสังคม ก็คือการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดความสงบ มีสติ เปี่ยมด้วยกรุณาและมีปัญญากระจ่างแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ท่านและประโยชน์ตนอย่างแท้จริง 

นอกจากการนำพุทธศาสนามาสัมพันธ์กับสังคมแล้ว ท่านนัท ฮันห์ ยังเห็นว่า พุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านนัท ฮันห์ เรียกว่า Engaged Buddhism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 



ท่านติช นัท ฮันห์ ขณะเข้าร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550 
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร 


เสน่ห์แห่งคำสอนของท่านนัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล 5 ในขอบเขตแคบๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล 5 ให้มีความหมายกว้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูงจนผู้คนสามารถเบียดเบียนกันได้แม้จะไม่เห็นตัวกัน เช่น ศีลข้อที่ 1 อันได้แก่ปาณาติบาต ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใดๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมทารุณสัตว์ ก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ 1 ด้วย 

ในด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือ การเจริญสติ เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่การรู้กายและใจของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คนด้วย แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่นท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ไปด้วยอีกคน 

เราจะต้องรักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยมีสติเข้าไปรับรู้ความเศร้าโศก ความโกรธ ความเกลียด และแปรให้เป็นความสงบและความรัก การตื่นอยู่เสมอด้วยสตินั้นเป็นปาฏิหาริย์ในตัวเอง ดังหนังสือเรื่อง ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของท่านเป็นคู่มือนำทางให้แก่เราได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหนังสือเล่มนี้ท่านเขียนในขณะที่สงครามเวียดนามกำลังมาถึงจุดแตกหัก แม้ท่านจะห่วงใยกับสถานการณ์ดังกล่าวเพียงใด แต่ท่านก็สงบนิ่งพอที่จะเขียนหนังสืออันมีคุณค่าลุ่มลึกทางจิตใจได้ 

ท่านนัท ฮันห์ ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือไปพ้นจากความหลงแห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่างๆ แยกออกเป็นขั้วๆ ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้นแท้จริงเป็นอีกด้านของเหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ไม่ได้แยกจากกัน คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน เช่นเดียวกับขยะซึ่งในอดีตเคยเป็นดอกไม้ และในอนาคตก็จะกลายเป็นดอกไม้อีก ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันและเป็นเหตุปัจจัยให้แก่กันและกัน (ดังท่านเรียกว่า “เป็นดั่งกันและกัน” หรือ interbeing) 



การประชุมวิชาการชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550 
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร 


เมฆกับกระดาษ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ก็ไม่มีต้นไม้ และไม่มีกระดาษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงย้ำให้เรามองกระดาษจนเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ และคนตัดไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งกระดาษนั้นไม่มีตัวตนของมันเอง หากเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่ใช่กระดาษ เช่นเดียวกับร่างกายของเราล้วนเกิดขึ้นจากธาตุหรือสารต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา เช่น คาร์บอน แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ ด้วยคำสอนง่ายๆ ที่ฝึกให้เรามองสิ่งต่างๆ อย่างเพ่งพินิจ ท่านได้พาให้เราเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งอันได้แก่อนัตตา คือความไม่มีตัวตน 

คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของท่านนัท ฮันห์ ที่ควรกล่าวย้ำในที่นี้ก็คือ การตั้งสังฆะที่สมสมัย ท่านตระหนักดีว่าพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จำต้องมีสังฆะที่เข้มแข็ง แต่แทนที่สังฆะจะหมายถึงผู้บวชที่ถือเพศพรหมจรรย์เท่านั้น ท่านได้ขยายสังฆะให้คลุมไปถึงอุบาสกและอุบาสิกา ขณะเดียวกันในฝ่ายผู้บวช ก็มิได้มีแต่ภิกษุเท่านั้น หากยังมีภิกษุณีอีกด้วย โดยมีสิกขาบทที่ปรับปรุงให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทวนกระแสบริโภคนิยม ซึ่งกำลังเป็นตัวกัดกร่อนบั่นทอนชีวิตจิตใจของนักบวชและผู้ใฝ่ธรรมทั่วโลก ขณะเดียวกันท่านยังได้คิดค้นพิธีกรรมใหม่ๆ ที่สื่อธรรมอย่างน่าประทับใจ ควบคู่ไปกับการสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สังฆะเพื่อเป็นชุมชนกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง 

นิมิตดีก็คือในเดือนพฤษภาคมนี้ ท่านนัท ฮันห์ และสังฆะของท่านจะมาเยือนประเทศไทย (หลังจากที่เคยมาครั้งล่าสุดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว) นอกจากการบรรยายแล้ว ท่านยังจะนำการปฏิบัติเพื่อความตื่นรู้ในปัจจุบันอันประเสริฐสุด นี้เป็นโอกาสดีที่หาได้ยากสำหรับชาวไทย (และผู้สนใจจากประเทศเพื่อนบ้าน) ที่จะได้ฟังธรรมจากท่าน ซึ่งเป็นการผสานมหายาน (โดยเฉพาะเซน) กับเถรวาท ได้อย่างลุ่มลึกและสื่อตรงกับคนสมัยใหม่ได้อย่างถึงแก่น 

ด้วยวัย 80 ปีและกิจนิมนต์ที่ได้รับจากทั่วโลก ไม่ง่ายเลยที่ท่านจะกลับมาเยือนเมืองไทยอีกหลังเดือนพฤษภาคมนี้ ผู้สนใจโปรดสอบถามรายละเอียดการบรรยายและการปฏิบัติธรรมได้จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลวิสาขบูชาแห่งโลก 



ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) 

คัดลอกมาจาก :: หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน ออนไลน์ หน้า 6 
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ โดย พระไพศาล วิสาโล 
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10578 
ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง

ปรัชญาหลักคิด ‘Thich Nhat Hanh’ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลก , ลานธรรมจักร


ปรัชญาหลักคิด ‘ติช นัท ฮันห์’ 
ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลก 

หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ว่าฉันกำลังหายใจเข้า 
หายใจออก ฉันยิ้ม ผ่อนคลายกายและใจของฉัน 

บ่อยครั้งที่ชีวิตของเราว้าวุ่นและสับสน เหน็ดเหนื่อยกับการวิ่งไล่ตามและวิ่งหนีสิ่งต่างๆ ที่เป็นทั้งกิเลส ความอยาก ความทุกข์ และความกังวลนานัปการในการดำเนินชีวิต จนเราไม่มีเวลาดูแลสิ่งต่างๆ ไม่มีเวลาดูแลคนที่เรารัก ไม่มีเวลาแม้แต่ตระหนักถึงลมหายใจของตนเอง 

ถ้อยคำง่ายๆ ข้างต้น คือบทหนึ่งในการเริ่มต้นวิถีแห่งการเจริญสติ ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงลมหายใจเข้าออกของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะนำไปสู่การมีสมาธิในทุกๆ ช่วงของการดำเนินชีวิต สร้างความสงบภายในใจ ลดกระแสความเร่งร้อนและรุนแรงของสังคมโลกปัจจุบัน ผู้กล่าวถ้อยคำสอนและนำการปฏิบัติอันเรียบง่ายนี้ เป็นพระภิกษุชาวเวียดนามที่ผู้คนรู้จักท่านในนาม ‘ติช นัท ฮันห์’ 

นอกจากองค์ทะไลลามะแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่นิตยสาร ไทม์ (Time Magazine) ยกย่องให้เป็น ‘Hero’ หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก 

พระไพศาล วิสาโล กล่าวถึงท่านติช นัท ฮันห์ ไว้ว่า “คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่า ความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตร ศิษย์ และเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณา แม้กระทั่งกับผู้ปลิดชีวิตบุคคลที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกันก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา 

ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่าเปรียบเสมือน ‘ดอกบัวกลางทะเลเพลิง’ ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากอุปมาดังกล่าวเลย” 

สังคมโลกดำรงอยู่ด้วยสันติภาพ 

กว่า 30 ปีก่อน ขณะที่เวียดนามกำลังคุกรุ่นด้วยไฟสงคราม มีผู้ตั้งคำถามกับท่านติช นัท ฮันห์ ว่า ระหว่างพุทธศาสนากับสันติภาพ หากเลือกได้ ท่านจะเลือกอะไร 

ท่านตอบว่า “หากคุณต้องเลือกระหว่างพุทธศาสนากับสันติภาพ คุณต้องเลือกสันติภาพ เพราะหากคุณเลือกพุทธศาสนาแล้วละทิ้งสันติภาพ พุทธศาสนาย่อมรับไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นพุทธศาสนามิใช่วัดหรือองค์กร พุทธศาสนาอยู่ในใจคุณ ถึงแม้คุณไม่มีวัดหรือพระสงฆ์ คุณก็ยังเป็นชาวพุทธในหัวใจและในชีวิตได้” 

แนวคิดส่วนใหญ่ของชาวพุทธในเวียดนามขณะนั้นคือ การทำทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่งการสนับสนุนการทำสงครามระหว่างสหรัฐและรัฐบาลเวียดนามใต้ เพราะต่างเห็นว่า หากคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะ ย่อมหมายถึงการสูญสิ้นพุทธศาสนา คำตอบของท่านติช นัท ฮันห์ จึงขัดแย้งกับความคิดของคนหมู่มาก 

แม้จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนและรัฐบาลในบ้านเกิดของท่านเอง แต่ติช นัท ฮันห์ ยังคงเชื่อมั่นว่า สงครามคือความเลวร้ายที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งการทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เพียงแต่การสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ หากยังผลักดันให้ผู้คนแสดงด้านมืดที่สุดของจิตใจ หันมากระทำย่ำยีต่อกันอย่างไร้ความเมตตา ละทิ้งคุณธรรมจริยธรรมอย่างสิ้นเชิง นั่นหมายถึงความล่มสลายของมนุษยชาติในที่สุด 

ท่านเชื่อว่าพุทธศาสนามีขึ้นเพื่อสันติสุขแห่งมวลมนุษย์ หากต้องเลือกระหว่างสันติภาพกับพุทธศาสนา ชาวพุทธสมควรเลือกสันติภาพ การสนับสนุนสงครามแม้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการคงอยู่ของศาสนา ย่อมมิใช่หนทางของพุทธศาสนาที่ปฏิเสธการเบียดเบียนและเข่นฆ่าในทุกกรณี พุทธศาสนามิได้อยู่ที่พระ วัดวาอาราม หรือวัตถุมงคลใดๆ หากแต่สถิตอยู่ในจิตใจที่เป็นกุศล เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารี ต่อกัน ไม่ถูกครอบงำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ความเกลียดชัง หรือความหวาดระแวง ด้วยเหตุนี้ ติช นัท ฮันห์ จึงอุทิศชีวิตของท่านเพื่อนำสันติภาพกลับคืนสู่ชาวเวียดนามจนเป็นผลสำเร็จ การตั้งมั่นของท่านพิสูจน์ให้ชาวโลกได้ตระหนักว่า สันติภาพคือรากฐานแห่งการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา 

ในการปาฐกถาธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชาโลกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ท่านติช นัท ฮันห์ ยังคงกล่าวย้ำให้ทุกคนมีชีวิตอยู่ด้วยสติ ปัญญา เมตตา กรุณา อยู่กับปัจจุบันขณะ ฝึกฝนการฟังอย่างลึกซึ้ง รักษาศีล 5 บ่มเพาะหน่ออ่อนแห่งความรักความเมตตาในจิตใจ รื้อถอนรากเหง้าแห่งความรุนแรง คือ ความคิดความเห็นที่ผิดพลาด ด้วยการปฏิบัติเหล่านี้จึงจะสามารถแก้ปัญหาความรุนแรงในโลกได้ 


ดอกบัวบานที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส 


พลังแห่งสติ พลังแห่งชีวิต 

ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี ที่ท่านต้องลี้ภัยเนื่องจากความไม่ไว้ใจของผู้นำคอมมิวนิสต์ฝ่ายเหนือและผู้นำฝ่ายใต้ ท่านได้ก่อตั้งชุมชนปฏิบัติธรรม ณ หมู่บ้านพลัม เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ทำให้ท่านได้รับฟังปัญหาของชาวตะวันตกจำนวนมาก และได้ข้อสรุปว่า ประชาชนที่อยู่ดีกินดี อุดมด้วยวัตถุ เครื่องใช้ทันสมัยนานาชนิด กลับหาความสุขในชีวิตได้ยาก ครอบครัวไม่อบอุ่น ชีวิตคู่ประสบปัญหาหย่าร้าง 

ท่านพบว่ามีผู้สนใจหันเข้ามาศึกษาวิธีการปฏิบัติธรรมและขอบวชกับท่านจำนวนมากขึ้นทุกที มีทั้งผู้ที่เปี่ยมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ รวมถึงคนหนุ่มสาวจากนานาชาติ ที่เบื่อชีวิตในสังคม หันมาพึ่งร่มกาสาวพัสตร์ หวังขจัดปัญหาเรื่องความโดดเดี่ยวและชีวิตที่เศร้าเหงาในสังคมตะวันตก 

คำตอบเรียบง่ายของท่านในการขจัดความทุกข์และสร้างความสุข คือการเจริญสติ 

สติเป็นพลังแห่งความตระหนักรู้ และรู้สึกตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ เป็นการเฝ้ามองอย่างลึกซึ้งในทุกขณะของชีวิตประจำวัน 

การดำรงสติเป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริง ดำรงอยู่กับปัจจุบันขณะ และกับทุกสิ่งที่รายล้อมเรา รวมทั้งกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราสามารถโน้มนำกายและจิตให้ผสานอย่างสอดคล้อง ในทุกกิจกรรมที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ล้างจาน ขับรถ หรืออาบน้ำยามเช้า 

ชาวหมู่บ้านพลัม รวมทั้งผู้ปฏิบัติภาวนาตามแนวทางของติช นัท ฮันห์ ทั่วโลก ต่างเรียนรู้ที่จะทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยลมหายใจแห่งสติ ด้วยการตระหนักรู้ในทุกขณะ ฝึกสติทุกๆ ขณะ ตลอดทั้งวัน และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วย 

การฝึกสติตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ ไม่จำเป็นต้องไปบังคับลมหายใจ เพียงแค่สัมผัสถึง ลมหายใจก็จะช้าลงและลึกขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ การตระหนักรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เป็นกุญแจดอกสำคัญสู่การประสานกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียว และนำมาซึ่งพลังแห่งสติในทุกๆ ขณะของชีวิต 

ผู้ที่ผ่านการฝึกสติ ล้วนพบว่า การฝึกสตินำมาซึ่งความเบิกบาน ผ่อนคลาย และมั่นคง เพียงแค่เราท่องจำว่า หายใจเข้า ฉันรู้ว่าฉันหายใจเข้า หายใจออก ฉันรู้ว่าฉันหายใจออก 

ความลุ่มลึกแห่งถ้อยคำจากคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์ เปรียบเสมือนยาขนานวิเศษ ที่จะช่วยเยียวยาชีวิตอันยุ่งเหยิงในสังคมที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ท่านยังบอกไว้ว่า มนุษย์มีเกราะกำบังที่จะสามารถปกป้องชีวิตจากการถูกความทุกข์ครอบงำได้ นั่นคือ หัวใจที่เปี่ยมไปด้วยสติและรอยยิ้มของมนุษย์เอง 

ศีล 5 สำหรับสังคมสมัยใหม่ 

พระไพศาล กล่าวว่า เสน่ห์แห่งคำสอนของท่านนัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล 5 ในขอบเขตแคบๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล 5 ให้มีความหมายกว้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูง จนผู้คนสามารถเบียดเบียนกันได้แม้จะไม่เห็นตัวกัน 

ตัวอย่าง เช่น ศีลข้อที่ 1 อันได้แก่ปาณาติบาต ที่เราเข้าใจมาตลอดว่าคือการห้ามฆ่าสัตว์ ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใดๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมทารุณสัตว์ ตลอดจนการทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ 1 ด้วย 

ศีลข้อห้ามลักทรัพย์ ท่านยังรวมไปถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น ความอยุติธรรมทางสังคม ศีลข้อ 3 ห้ามประพฤติผิดในกามนั้น ท่านยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศของเด็ก อันเป็นปัญหาสังคมที่ก่อให้เกิดผลกระทบอันเป็นลูกโซ่ไม่มีสิ้นสุด ศีลข้อ 4 ก็มิได้หมายถึงการห้ามกล่าวเท็จแต่เพียงอย่างเดียว หากยังรวมไปถึงการตั้งสัตย์ปฏิญาณที่จะพูดแต่ความจริง และถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความหวัง เบิกบาน และไม่ควรกระพือข่าวที่ตนเองไม่รู้แน่ชัด ตลอดจนละเว้นวาจาที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก 

ส่วนศีลข้อสุดท้าย มิได้หมายถึงข้อห้ามเพียงแค่ละเว้นสุราและเครื่องดื่มมึนเมาเท่านั้น หากยังขยายความไปถึงการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ทั้งต่อร่างกายและจิตวิญญาณของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ ภาพยนตร์ และการสนทนา 

วิถีชีวิตปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ชีวิตและสังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การมองเห็นความผิดบาปหรือความเบียดเบียนที่มนุษย์สามารถกระทำต่อผู้อื่นนั้น เป็นไปได้ยากขึ้นตามลำดับ การที่ติช นัท ฮันห์ ได้ตีความศีล 5 ในพุทธศาสนา ในลักษณาการที่คนร่วมสมัยเข้าใจได้ ย่อมมิใช่แค่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักษาศีลโดยลำพัง หากแต่ยังประโยชน์ให้แก่สังคมทั้งมวลอีกด้วย


ท่านติช นัท ฮันห์ 


ท่านติช นัท ฮันห์ นำพาปฏิบัติกิจกรรม “ก้าวย่างแห่งสันติภาพ” 


พุทธศาสนากับการเยียวยาการเมืองและธุรกิจ 

ปลายเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ในการประชุมชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ 4 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ท่านติช นัท ฮันท์ ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “พระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาลและการพัฒนา” ความตอนหนึ่งท่านกล่าวถึงนักการเมืองและนักธุรกิจว่า 

ชีวิตของนักการเมืองและนักธุรกิจ มีแต่ความเครียด ความทุกข์ ไม่มีเวลาที่จะใช้ชีวิตอย่างลึกซึ้งที่จะดูแลตนเองได้ และหลายครั้งที่เราใช้อำนาจในทางที่ผิด ใช้อำนาจในทางที่เสียหาย เราทุกคนมีอำนาจในตัวเอง ในฐานะที่เป็นครู เรามีอำนาจ ในฐานะที่เป็นคุณพ่อ เราก็มีอำนาจเหมือนกัน ถ้าเราใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจนั้นก็ทำให้คนอื่นมีความทุกข์ไปด้วย ทำให้ตนเองและคนรอบข้างมีความทุกข์ เนื่องจากการไม่รู้วิธีการใช้อำนาจที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เงินทอง ชื่อเสียง และอำนาจ ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เราตกอยู่ในห้วงทุกข์เช่นกัน 

ทางออกในเรื่องนี้ คือ นักการเมือง นักธุรกิจ จะต้องฝึกเจริญธรรม เพื่อให้เกิดอำนาจทางจิตวิญญาณ 3 ประการ ได้แก่ 

หนึ่ง ใช้สติในการดำเนินชีวิต รู้จักละทิ้ง หรือตัดออก เพราะนักการเมืองหลายคนยังยึดติดกับความอยาก โดยเฉพาะเรื่องของกามารมณ์ บางครั้งทำให้เสียชื่อเสียง จนไม่สามารถอยู่บริหารงานทางการเมืองต่อไปได้ 

สอง ใช้ปัญญาเป็นฐานในการพัฒนาชีวิต ต้องรู้จักการเข้าถึงปัญญาด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง การมีปัญญาจะสามารถแปรเปลี่ยนความทุกข์ ความสิ้นหวังเป็นพลังสร้างสรรค์ได้ 

สาม เรียนรู้ที่จะใช้พลังแห่งความเมตตาและความรัก ต้องรู้จักการให้อภัย ยอมรับซึ่งกันและกัน เมื่อไม่มีความรักให้กันและกันจะนำมาซึ่งความโกรธ เกลียด และความทุกข์ 

การมีสติและฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ สามารถทำให้บ้าน ที่ทำงาน หรือพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงจากสถานที่บ่มเพาะความทุกข์ เป็นสถานที่แห่งความสุข และความกรุณาได้ 

ท่านติช นัท ฮันห์ เห็นว่าพุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านเรียกว่า “Engaged Buddhism” หรือ “พุทธศาสนาเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 

เมื่อมองอย่างลึกซึ้ง การที่ผู้คนทั่วโลกยอมรับนับถือและลงมือปฏิบัติตามแนวคิดของท่านติช นัท ฮันห์ อาจเป็นเพราะความเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ อันเป็นวิถีทางของชีวิตแท้ๆ และสัจธรรมที่ว่า การก่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่ย่อมเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่ธรรมดาสามัญ เช่น ลมหายใจ การเดิน และการเจริญสติ ที่นำไปสู่การเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งสันติในใจ ไหลรินไปสู่ครอบครัว และงอกงามสู่สังคมโลก 

ดังที่ท่านกล่าวไว้ในปาฐกถาธรรมเรื่อง “สู่สันติสมานฉันท์ : ความสุขอันเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัวและสังคม” ปาฐกถาธรรมครั้งแรกในเมืองไทยของท่าน เนื่องในงานวันวิสาขบูชาโลก ปี พ.ศ.2550 ว่า “หากเธอไม่สามารถที่จะสันติกับตัวเองได้แล้ว เธอก็ไม่สามารถสันติกับผู้อื่นได้เช่นกัน” 


ท่านติช นัท ฮันห์ กลับบ้านเกิดที่เวียดนาม เมื่อปี พ.ศ.2548 


พุทธศาสนาในเวียดนาม 

พุทธศาสนาในประเทศเวียดนามมีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศเวียดนาม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งขณะนั้น เวียดนามตกอยู่ในอำนาจของจีน โดยสันนิษฐานว่า ท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้เดินทางจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ 

ในยุคแรกๆ พระพุทธศาสนายังไม่เจริญรุ่งเรืองนัก กระทั่งเวียดนามกอบกู้เอกราชจากจีนได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาจึงได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง และเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ มีการจัดตั้งองค์การปกครองคณะสงฆ์ขึ้น กษัตริย์หลายพระองค์ของเวียดนามทรงเอาใจใส่และทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ต่อมาในช่วง พ.ศ.1957-1974 เวียดนามได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอีก ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง และแม้ว่าจะได้เอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ.1974 แต่สถานการณ์ของพุทธศาสนาก็ยังไม่ดีขึ้น 

พ.ศ.2076 เวียดนามได้แตกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ที่ทำสงครามกันตลอดเวลา 270 ปี ในช่วงนี้แต่ละอาณาจักรก็ได้มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากมาย เพื่อสร้างศรัทธาแก่ผู้คน 

พ.ศ.2426 เวียดนามได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พุทธศาสนาจึงเริ่มเสื่อมโทรมลงอีกครั้ง มีการห้ามสร้างวัด จำกัดจำนวนพระสงฆ์ และตัดสิทธิของชาวพุทธมากมาย แต่ชาวพุทธก็พยายามต่อสู้เพื่อเอกราช กระทั่งศาสนาพุทธซึ่งดูเหมือนว่าจะสูญสิ้นแล้ว ก็กลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ.2474 ได้มีการจัดตั้งสมาคมพุทธศาสนาขึ้นที่เมืองไซ่ง่อน เมืองเว้ และฮานอย เพื่อมุ่งเน้นด้านการศึกษา และสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งได้มีการจัดพิมพ์วารสารของพระพุทธศาสนา และแปลคัมภีร์ต่างๆ ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท แต่การฟื้นฟูก็หยุดชะงักลงอีกครั้ง เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2482 

ในปี พ.ศ.2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ก็เริ่มฟื้นฟูพุทธศาสนาต่อไป มีการตั้งกิจการบริหารคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ รวมทั้งพุทธสมาคมสำหรับฆราวาสขึ้นด้วย 

ในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครองเวียดนามนั้น ได้แบ่งประเทศเวียตนามเป็น 2 เขตคือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยเวียดนามเหนือปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ส่วนเวียดนามใต้ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์กับพุทธศาสนามากมาย โดยเฉพาะในเวียดนามใต้ ที่ปกครองโดยรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโง ดินห์เดียม ซึ่งนับถือคริสต์ และได้กดขี่ข่มเหงชาวพุทธ รวมทั้งกระทำย่ำยีต่อพุทธศาสนามากมาย กระทั่งพระสงฆ์กับชาวพุทธทนไม่ไหวได้รวมตัวกันต่อต้าน จนถึงขั้นพระติช กวางดึ๊ก เผาตัวเองจนมรณภาพ เพื่อเป็นการประท้วง จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก ในปี พ.ศ.2506 

ต่อมาใน พ.ศ.2519 ได้มีการรวมเวียดนามทั้ง 2 เขตเข้าเป็นประเทศเดียวกันอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า ‘สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม’ ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเวียดนาม 

ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา พระติช ตริ ถู ได้รวบรวมชาวพุทธทุกนิกายและองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ จัดตั้ง ‘ชุมชนชาวพุทธแห่งเวียดนาม’ เพื่อร่วมฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งภายหลังการรวมชาติ ภายใต้คำขวัญว่า “ธรรมะ-ชาติ-สังคมนิยม” และร่วมกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อนำความสงบและสันติมาสู่โลก รวมทั้งได้จัดตั้งองค์กรระดับชาติ 5 องค์กร และได้มีการแปลและพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาเวียดนามด้วย ทุกวันนี้ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี และสาวกพุทธบริษัททั้งหลาย อยู่ภายใต้การนำของชุมชนชาวพุทธแห่งเวียดนาม ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่สิ่งใหม่ๆ 

ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรราว 82 ล้านคน ในจำนวนนี้ราว 92 เปอร์เซนต์นับถือพุทธศาสนา และผลจากการสำรวจของฝ่ายกิจการศาสนาของภาครัฐเวียดนาม ในปี พ.ศ.2549 พบว่า ในปี พ.ศ.2548 เวียดนามมีภิกษุ ภิกษุณี และสามเณร 37,775 รูป แบ่งเป็นมหายาน 26,046 รูป เถรวาท 9,370 รูป นักพรต 2,359 รูป 

วัดมีศาสนสถานและสำนักแม่ชี 16,972 แห่ง ศูนย์ให้ความรู้ทางพุทธศาสนา 40 แห่ง แบ่งเป็นสถาบันพุทธศาสนา 3 แห่ง มีสามเณรศึกษารวม 1,141 รูป วิทยาลัยพุทธศาสนา 6 แห่ง มีสามเณรศึกษารวม 1,000 รูป ศูนย์อบรมพุทธศาสนาระดับกลาง 31 แห่ง มีสามเณรศึกษารวม 3,726 รูป มีนักศึกษาที่จบปริญญาตรีและปริญญาเอกทางพุทธศาสนาในต่างประเทศ จำนวน 200 คน มีองค์กรการกุศล 1,076 องค์กร 

และประเทศเวียดนามได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ในปี พ.ศ.2551 


ท่านติช นัท ฮันห์ กับ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดี มจร. 
ขณะเข้าร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก 2550 

คัดลอกมาจาก :: หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50 
โดย นันท์ธนัตถ์ จิตประภัสสร 
ผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2550 10:50 น. 
ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย , ท่านพุทธทาสภิกขุ


นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย
  
          เรื่องที่หนึ่ง ซึ่งไม่อยากจะเว้นเสีย ทั้งที่ เคยเอ่ยถึงแล้ว วันก่อน คือ เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย คือว่า อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็น ผู้มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์ คนหนึ่ง  เป็น โปรเฟสเซอร์ ที่มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ ไปหา อาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษา พระพุทธศาสนา อย่างเซ็น ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชา ลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก 

          โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร" ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า" ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไร ลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง" คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็น ตามความ ยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบ ของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น

        ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิด เรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทาง ในครั้งโบราณ ในอรรถกถา ได้เคย กระแหนะกระแหน ถึง พวกพราหมณ์ ที่เป็น ทิศาปาโมกข์ ต้องเอาเหล็กมาตี เป็นเข็มขัด คาดท้องไว้ เนื่องด้วย กลัวท้องจะแตก เพราะวิชาล้น นี้จะเป็นเรื่อง ที่มีความหมายอย่างไร ก็ลองคิดดู พวกเรา อาจล้น หรือ อัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้น จนอะไรใส่ ลงไปอีกไม่ได้ หรือ ความล้นนั้น มันออกมา อาละวาด เอาบุคคลอื่น อยู่บ่อยๆ บ้างกระมัง แต่เราคิดดูก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ล้น นั้น คงจะเป็นส่วน ที่ใช้ไม่ได้ จะจริงหรือไม่ ก็ลองคิด 

        ส่วนใดที่เป็นส่วนที่ล้น ก็คงเป็น ส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกาย รับเอาไว้ได้ ก็คงเป็น ส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้น จริยธรรมแท้ๆ ไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่า จริยธรรม หรือ ธรรมะแท้ๆ นั้น มีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ ก็หมายความว่า สิ่งที่ล้นนั้น มันก็ไม่ใช่จริยธรรม ไม่ใช่ธรรมะ ล้นออกไป เสียให้หมด ก็ดีเหมือนกัน หรือ ถ้าจะพูดอย่างลึก เป็นธรรมะลึก ก็ว่า จิตแท้ๆ ไม่มีวันล้น อ้ายที่ล้นนั้น มันเป็นของปรุงแต่งจิต ไม่ใช่ตัวจิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้น เราก็ยังไม่รู้ว่า จิตแท้คืออะไร อะไรควรเป็น จิตแท้ และอะไรเป็นสิ่ง ที่ไม่ใช่จิตแท้ คือ เป็นเพียง ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละ รีบค้นหาให้พบ สิ่งที่เรียกว่า จิตจริงๆ กันเสียสักที ก็ดูเหมือนจะดี

        ในที่สุด ท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูง ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่า จิตแท้ หรือ จิตเดิมแท้ ซึ่งข้อนั้น ได้แก่ ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วย สภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู-ของกู" นั้นแหละ คือ จิตแท้ ถ้าว่างแล้ว มันจะเอาอะไรล้น นี่เพราะเนื่องจากไม่รู้จักว่า อะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันแต่เรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่า ล้น และที่ร้ายกาจที่สุด ก็คือ ที่พูดว่า ศาสนานี้ เป็นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนล้น คือส่วนที่เกิน คือ เกินต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจ ไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่า เขาไม่ต้อง เกี่ยวกับศาสนา หรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้ เขาใช้ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้ว ก็ทำราชการ เป็นใหญ่เป็นโต ได้โดยไม่ต้อง มีความเกี่ยวข้อง กับศาสนาเลย 

       ฉะนั้น เขาเขี่ยศาสนา หรือ ธรรมะ ออกไปในฐานะ เป็นส่วนล้น คือ ไม่จำเป็น นี่แหละ เขาจัดส่วนล้น ให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้ จะต้องอยู่ ในลักษณะที่ ล้นเหมือน โปรเฟสเซอร์คนนั้น ที่อาจารย์น่ำอิน จะต้อง รินน้ำชาใส่หน้า หรือ ว่ารินน้ำชาให้ดู โดยทำนองนี้ทั้งนั้น เขามีความเข้าใจผิดล้น ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมา ให้เห็น เป็นรูปของ มิจฉาทิฎฐิ เพราะเขาเห็นว่า เขามีอะไรๆ ของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะ เป็นจริยธรรมนี่ เข้าไม่จุ อีกต่อไป ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี้แหละ คือ มูลเหตุที่ทำให้จริยธรรม รวนเร และ พังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้


From Thich Nhat Hanh , Peace is Every Step


Root of Anger

Thich Nhat Hanh

"When you say something really unkind, when you do something in retaliation your anger increases. You make the other person suffer, and he will try hard to say or to do something back to get relief from his suffering. That is how conflict escalates." 


"Root out the violence in your life, and learn to live compassionately and mindfully. Seek peace. When you have peace within, real peace with others is possible."

Compassion Quotes , Quotation From Thich Nhat Hanh

Compassion Quote


By Thich Nhat Hanh

Compassion springs from the heart, as pure, refreshing water, healing the wounds of life.
-Thich Nhat Hanh-



Thich Nhat Hanh Quotes 1 , ติช นัท ฮันห์

Thich Nhat Hanh



"If we are not peaceful, if we are not feeling well in our skin, we cannot demonstrate real peace, and we cannot raise our children well either."
–Thich Nhat Hanh-


"We can smile, breathe, walk, and eat our meals in a way that allows us to be in touch with the abundance of happiness that is available. We are very good at preparing to live, but not very good at living. We know how to sacrifice ten years for a diploma, and we are willing to work very hard to get a job, a car, a house, and so on. But we have difficulty remembering that we are alive in the present moment, the only moment there is for us to be alive. Every breath we take, every step we make, can be filled with peace, joy, and serenity. We need only to be awake, alive in the present moment."
–Thich Nhat Hanh-



"Be Yourself. Life is precious as it is. All the elements for your happiness are already here. There is no need to run, strive, search, or struggle. Just be."
–Thich Nhat Hanh-


"Because of your smile, you make life more beautiful."
–Thich Nhat Hanh-


"And once we have the condition of peace and joy in us, we can afford to be in any situation. Even in the situation of hell, we will be able to contribute our peace and serenity. The most important thing is for each of us to have some freedom in our heart, some stability in our heart, some peace in our heart. Only then will we be able to relieve the suffering around us."
–Thich Nhat Hanh-

Touching the Earth , Touching the Earth

Touching the Earth


Touching the Earth

"Earth brings us to life 
and nourishes us. 
Earth takes us back again, 
We are born and we die with every breath."

Using the Telephone 
"Words can travel thousands of miles. 
May my words create mutual understanding and love. 
May they be as beautiful as gems, 
as lovely as flowers."

Washing Feet 
"The peace and joy 
of one toe 
is peace and joy 
for my whole body."

-Thich Nhat Hanh-


อัตตวรรค - หมวดตน , พุทธสุภาษิต

อัตตวรรค - หมวดตน

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่างของบ​ุรุษ

อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง

อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น

สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ผู้ฝึกตนดี ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก

อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน

ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้​น

อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมคว​รก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง

อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท , อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ

อปฺปมตฺตา น มียนฺต ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย

อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย

อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส
คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้​อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมาการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท

กัมมวรรค - หมวดกรรม , กัมมวรรค - หมวดกรรม

กัมมวรรค - หมวดกรรม

สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ

สุกรํ สาธุนา สาธุ ความดี อันคนดีทำง่าย

สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ ความดี อันคนชั่วทำยาก

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม

นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความ​พินาศ

อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคน ผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว

อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้

โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปต
ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนใ​นภายหลัง
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหต​ุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุ​ข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

หาสุขได้..จากทุกข์ ปาฐกถาธรรมโดยท่านพุทธทาส , ท่านพุทธทาส


ธรรมะของท่านพุทธทาส 
หาสุขได้..จากทุกข์ 
โดย พุทธทาสภิกขุ 
(พระธรรมเทศนา ประจำคืนในพรรษา ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๔)
หาความสุขได้.. จากสิ่งที่เป็นทุกข์

     สำหรับในวันนี้ จะได้แสดงด้วยข้อธรรมะข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นพระพุทธภาษิตว่า ผู้มีปัญญาย่อมแสวงหาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นทุกข์ ขอให้ท่านทั้งหลายทุกคนจงตั้งจิตอธิษฐาน ในการที่ว่าจะประพฤติปฏิบัติ ให้ตลอดพรรษานี้โดยหัวข้อที่ว่า จะแสวงหาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นทุกข์

      ท่านทั้งหลายจงฟังดูให้ดี ถ้าฟังดูไม่ดี ก็จะไม่เห็นด้วย ในข้อที่ว่า เราจะแสวงหาความสุข จากสิ่งที่เป็นทุกข์ คนโง่ก็เห็นว่า เมื่อเป็นทุกข์เสียแล้ว ก็ไม่มีทางแก้ไข หรือความสุขกับความทุกข์นี้ จะเอามาใช้แทนกันไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญาหาเป็นอย่างนั้นไม่ สามารถแสวงหาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นทุกข์

      นี้มันก็เป็นหนทางที่ดี หรือดีมากทีเดียว เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีความทุกข์น้อยเข้า หรือถึงกับไม่มีความทุกข์เลย แต่ถ้าฟังไม่ถูก มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร และคงจะคิดเสียว่า มันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะว่าคนโง่ทั้งหลาย ย่อมหวังในสิ่งที่หวังไม่ได้ หรือ ไม่ควรหวัง

      ยกตัวอย่างเช่นว่า คราวหนึ่งได้พูด ได้เทศน์ ได้พิมพ์โฆษณา เรื่องซึ่งมีหัวข้อว่า ความเจ็บไข้มาสอนให้เราเป็นคนฉลาด ความเจ็บ ความไข้ เกิดขึ้นแก่เราเพื่อมาสอนเราให้เป็นคนฉลาด คนที่ไม่เข้าใจก็ล้อว่า เขาไม่ต้องการความเจ็บไข้เขาต้องการลาภอย่างยิ่ง ที่เกิดมาจากความไม่เจ็บไม่ไข้ อ้างพระพุทธภาษิตขึ้นมาว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นยอดแห่งลาภ นี้คือคนโง่ใครบ้างที่ว่า อยู่ในโลกนี้แล้วจะไม่เจ็บไม่ไข้

      นี้ปัญหามันก็มีว่า เมื่อความเจ็บไข้เกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำอย่างไรจะต้องมาเสียใจ มานั่งบ่น นั่งเพ้อว่าเป็นกรรม เป็นเวร เป็นบาป มาถึงเข้าแล้วบางคนก็ร้องไห้กระสับกระส่าย อย่างนี้เรียกว่า คนโง่ เพราะไม่รู้จักต้อนรับ

     ฉะนั้นเมื่อ เจ็บไข้ทีไร ต้องรู้จักถือเอาความฉลาดรู้จักพิจารณา และรู้จักสลัดออกไป ด้วยสติปัญญา เหมือนกับว่าเป็นการ ฝึกหัดจิตใจให้เข้มแข็งให้ความทุกข์เพียงเท่านี้ครอบงำไม่ได้ เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งความทุกข์ชนิดไหน ก็ครอบงำไม่ได้ เมื่อเราคิดเสียอย่างนี้ ความเจ็บไข้มันก็พ่ายแพ้ไป แม้ว่าความเจ็บไข้นั้นมันจะหนักมาก ถึงกับจะต้องตาย ก็ยังมีทางที่จะคิดได้ว่าสังขารมันเป็นอย่างนี้เอง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสังขารทั้งหลายมันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าฉลาดถึงขนาดนี้แล้ว ความทุกข์หรือเจ็บไข้หรือความตายชนิดไหนก็ไม่มาทำให้เดือดร้อนได้หรือถึงกับหัวเราะเยาะได้ นี้เป็นหลักสำหรับพุทธบริษัทจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะเอาชนะความทุกข์

ความเป็นทุกข์ของสังขาร

     ทีนี้ก็ย้อนกลับไปหาหัวข้อข้างต้นที่ว่า รู้จักแสวงหาความสุขจากสิ่งที่เป็นทุกข์ หัวข้อนี้มีทางที่จะอธิบายได้มากมายหลายระดับ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่องความเป็นทุกข์ของสังขาร ในบทที่ว่า สัพเพ สังขารา ทุกขา-สังขาร คือสิ่งที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวงทุกชนิด เป็นทุกข์ หรือว่า เบญจขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปทานนี้ เป็นความทุกข์ แปลว่า ตัวชีวิตนั้นมันเป็นความทุกข์อยู่ตามธรรมชาติ

      ทีนี้เรา จะแสวงหาความสุข จากสิ่งที่เป็นทุกข์นี้ได้อย่างไร? สติปัญญาของคนธรรมดาคงจะทำไม่ได้จึงต้อง อาศัยสติปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สติปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากพอ ที่จะทำให้สามารถแสวง หาความสุขจากสิ่งที่เป็นทุกข์ เพราะสติปัญญาอันสูงสุดอย่างนี้เองพระองค์จึงได้นามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ขอให้เราทุกคนลองพยายามคิดนึกศึกษาตามที่พระองค์ทรงสอนไว้

      ก็ร่างกายจิตใจชีวิตนี้ เมื่อปล่อยไปตามเรื่องตามราวของคนที่ไม่มีความรู้มันก็เป็นทุกข์ แต่ถ้ามีปัญญาก็สามารถที่จะพิจารณา เสาะหาเอาแต่แง่มุมที่จะไม่ต้องเป็นทุกข์ ลองว่ามา ดูว่ามันมีอะไรบ้าง?

      ความเกิดเป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร? เราก็ต้อง ศึกษาเรื่องความเกิด ถ้าไม่มีความเกิด เราก็ไม่มีอะไรจะศึกษา ฉะนั้นต้องมีความเกิดมาให้เรา สำหรับเป็นวัตถุแห่งการศึกษา เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเกิดนี้อย่างถูกต้องแล้ว ก็สามารถจะทำให้ความเกิดนั้นหยุดเป็นทุกข์ หรือถึงกับไม่มีความเกิดเอาเสียทีเดียว

      ศึกษาจนรู้ว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อย่างนั้นอย่างนี้มีแต่สักว่าธรรมชาติล้วนๆ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป เราได้ความรู้ความเข้าใจถึงขนาดนี้แล้ว ความเกิดก็หมดความเป็นทุกข์แล้วก็ให้สิ่งที่ตรงกันข้ามคือ ความไม่เป็นทุกข์หรือความสุข

      มาถึงความแก่ชรา จะเป็นความแก่ชราอย่างไหนก็ตามใจ ถ้ามีปัญญาพอตัว ก็ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับศึกษาเป็นบทเรียนสำหรับศึกษา ให้รู้ว่า ควมแก่มันเป็นอย่างนี้เอง มันก็มาสอนให้เราฉลาดด้วยเหมือนกันอย่างน้อยก็ให้รู้ว่า สังขารทั้งหลายมันเป็นอย่างนี้ ก็หัวเราะเยาะได้ ฯลฯ

      ความเจ็บไข้ก็อย่างเดียวกันอีก คืออย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นตัวอย่างนั้น เจ็บไข้ทุกทีก็ย่อมจะฉลาดขึ้นทุกที แต่ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ เจ็บไข้ทุกทีก็ยิ่งโง่เข้าทุกที ยิ่งทุกข์ง่าย มีความทุกข์ง่ายขึ้นทุกที จนหมดกำลังใจที่จะต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงของสังขารทั้งหลาย

      ทีนี้ก็มาถึง ความตาย ความตายนี้ เป็นความทุกข์ขึ้นมา ก็เพราะว่าทุกคนยึดมั่นถือมั่น ว่าความตายนี้ของเรา ความตายยังไม่ทันมาถึง ก็มีทุกข์เหลือประมาณ

      โดยมากคนเรามีความทุกข์ เพราะสิ่งที่ยังไม่มาถึง แทบจะทั้งนั้นหมายความว่าคิดเอาเอง หวั่นวิตกเอาเอง ยึดมั่นถือมั่นเอาเอง เป็นทุกข์มากมายมหาศาล จากสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น พอถึงคราวที่ตายเข้าจริงๆ หามีเวลาที่จะไปคิดนึกมากอย่างนั้นไม่ มีปัญหาเรื่องความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นปีๆ ล่วงหน้าถึงเวลาจะตายเข้าจริง ไม่กี่นาทีก็ตายได้ ฯลฯ

      นี้คือวิธีที่จะทำให้โลกนี้ ไม่มีอะไรที่จะเป็นทุกข์แก่บุคคล ผู้มีสติปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นเครื่องคุ้มครอง

      ทั้งหมดนี้ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นหลักใหญ่ๆ ในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึง ความทุกข์ ก็หมายถึง ความทุกข์ ที่เกิดมาจากเบญจขันธ์ ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน เราเป็นผู้รู้จักเข็ด รู้จักหลาบ รู้จักสังเกต เป็นทุกข์ทุกที ก็ฉลาดขึ้นทุกที ไม่ใช่เป็นทุกข์ทุกที ยิ่งโง่เข้าทุกที ยิ่งท้อถอย ยิ่งหมดกำลังใจเข้าทุกทีมีความทุกข์ทีไร ก็จะต้องถือเอากำไรให้ได้จากความทุกข์นั้น ถ้ามันทุกข์มากก็จะถือเอาความรู้ให้ได้มาก คือ ให้มีกำไรมาก แล้วแต่ว่าความทุกข์นั้นมันจะมีมาในลักษณะไหน หรือขนาดไหน ยิ่งทุกข์มาก ยิ่งดี จะได้รู้ความจริงเกี่ยวกับข้อนี้มาก

      เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ไม่เท่าไรก็จะไม่มีอะไรที่จะเป็นความทุกข์ ความทุกข์เข้ามา แปลงให้เป็นความสุขไปเสียได้เป็นคาถาอาคมอะไรชนิดหนึ่ง ซึ่งประเสริฐที่สุดสำหรับมนุษย์ คือสามารถที่จะเอาชนะความทุกข์ทุกอย่างได้ ให้กลายเป็นความรู้บ้าง ให้กลายเป็นความสามารถบ้าง